โรงเรียนบ้านท่าเรือ


หมู่ที่ 4 บ้านท่าเรือ ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82160
โทร. 0-7641-9625

273812729_1420064791754237_4293799630584570929_n

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330046-20170630-122312

นางสาวอัจฉรา สอนสั่ง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเรือ

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านท่าเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 71 หมู่ที่ 4 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เริ่มจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ในการเปิดเรียนครั้งแรกเป็นสาขาของโรงเรียนบ้านพรุใน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ได้รับบริจาคที่ดินจากนายบากาก –นางฉาวพอง ปลูกพืช เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา และราษฎรได้บริจาคเงินเพิ่มอีกคนละ 11 บาท เพื่อจัดซื้อวัสดุในการก่อสร้าง ต่อมาได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 3 ไร่ รวมเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ขณะนั้นมีครู 3 คน มีนายประยูร วิจิตรนาวี เป็นครูใหญ่คนแรก

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนบ้านพระปรางค์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สุขภาพดีถ้วนหน้า รักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนร่วมพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัน และธรรมชาติของผู้เรียนเน้นการปฏิบัติจริง นำสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน
2. พัฒนาคุณภาพนักเรียน ทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนด ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยนักเรียนและการเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์และรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
3. ส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ในการใช้สื่อและเทคโนโลยีและมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
4. จัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ห้องเรียนให้เหมาะสม และเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
5. ประสานกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาโรงเรียน และการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย
1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ สามารถค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้
2. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามสิทธิอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน
3. นักเรียนทุกคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
4. นักเรียนทุกจบการศึกษาภาคบังคับทุกคน